การแปลผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Formule sanguine complète ; NFS)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์แต่ละรายการของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้น เป็นดังนี้

ค่าพารามิเตอร์ของเม็ดเลือดแดง (Globules rouges ; RBC)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเม็ดเลือดแดง เป็นดังนี้

Comptage des globules rouges (RBC count)

.

ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในคนไทย ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 2011 พบว่าคนวัยทำงาน (อายุ 15 – 49 ปี) ในประเทศไทย จะพบภาวะโลหิตจางได้มากถึง 24 % ภาวะโลหิตจางอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดธาตุเหล็ก (carence en fer), ขาดวิตามินบี 12 (B12) หรือขาดโฟเลต (Folate), โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassémie), โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (Déficit en G6PD), การเสียเลือดจากสาเหตุต่างๆ (Perte de sang), ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Anémie hémolytique), ความผิดปกติของไขกระดูก (Trouble de la moelle osseuse), ภาวะการอักเสบเรื้อรัง (Maladie inflammatoire chronique), โรคไตเรื้อรัง (Maladie rénale chronique) เป็นต้น เมื่อตรวจพบภาวะโลหิตจางแล้ว ควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยาเพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการรักษาหากเป็นโรคที่จำเป็นต้องทำการรักษาต่อไป

สำหรับภาวะเม็ดเลือดแดงมากนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นกัน สาเหตุที่พบบ่อย เช่น เกิดจากภาวะขาดน้ำ (Déshydratation), โรคปอดเรื้อรัง (Maladie pulmonaire chronique), การสูบบุหรี่ (Tabagisme), การปรับตัวทางสรีระวิทยาของคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง (Vivre en haute altitude), โรคหัวใจแต่กำเนิด (Cardiopathie congénitale), เนื้องอกที่ไตที่สร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินมากเกิน (Tumeur rénale qui produit un excès d’érythropoïétine), ความผิดปกติทางพันธุกรรม (Cause génétique) เช่น โรคโพลีไซทีเมีย เวอรา (Polycythemia vera) เป็นต้น

Hémoglobine (Hb)

Hématocrite (Hct)

Indices des globules rouges

.

  • Volume cellulaire moyen (VCM) ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง (Volume cellulaire moyen หรือ Volume corpusculaire moyen หรือ VCM) เป็นค่าที่บอกขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ 80 – 96 fL ถ้าค่านี้ต่ำ แสดงว่าเม็ดเลือดแดงของผู้เข้ารับการตรวจมีขนาดเฉลี่ยเล็กกว่าปกติ (Microcytaire) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Carence en fer) และโรคธาลัสซีเมีย (Thalassémie) เป็นต้น ถ้าค่านี้สูง แสดงว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าปกติ (Macrocytaire) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 (B12) หรือโฟเลต (Folate) ภาวะไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ (Myélodysplasie) โรคตับ (Maladie du foie) ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroïdie) เป็นต้น
  • Hémoglobine cellulaire moyenne (HCM) ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Hémoglobine cellulaire moyenne หรือ Hémoglobine corpusculaire moyenne หรือ MCH) เป็นค่าที่บอกปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ 27.5 – 33.2 pg ค่านี้เป็นค่าที่ใช้พิจารณาเสริมกับค่า MCV โดยมักจะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากหากขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงเล็ก ก็จะมีปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์ต่ำไปด้วย และหากขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงใหญ่ ก็จะมีปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์สูงไปด้วย
  • Concentration moyenne d’hémoglobine cellulaire (CMH) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Concentration moyenne d’hémoglobine cellulaire หรือ Concentration moyenne d’hémoglobine corpusculaire หรือ CMH). เป็นค่าที่บอกความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ประมาณ 33.4 – 35.5 g/dL ถ้าค่านี้ต่ำ แสดงว่าเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย (Hypochromie) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Carence en fer) และโรคธาลัสซีเมีย (Thalassémie) เป็นต้น ถ้าค่านี้สูง แสดงว่าเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินมาก (Hyperchromie) พบได้ในภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Anémie hémolytique auto-immune) auto-immune) ผู้ป่วยถูกที่ถูกไฟไหม้ (Brûlé) หรือโรคเม็ดเลือดแดงป่องจากพันธุกรรม (Sphérocytose héréditaire)

La largeur de distribution des globules rouges (RDW)

RBC morphology

ส่วนลักษณะที่รายงานว่ามีรูปร่างของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Poikilocytose) เกิดจากการที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงบางเซลล์มีรูปร่างผิดปกติ พบปะปนอยู่กับเซลล์เม็ดเลือดแดงทั่วไป ลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติที่พบได้ เช่น เซลล์รูปเป้า (Cellule cible) , เซลล์รูปกลม (Sphérocyte), เซลล์รูปรี (Ovulocyte), เซลล์รูปหนาม (Acanthocyte หรือ Cellule d’éperon), เซลล์ขอบหยัก (Cellule de bavure), เซลล์รูปเคียว (Cellule drépanocytaire), เซลล์รูปหยดน้ำ (Cellule larme), เซลล์รูปเศษเสี้ยว (Schistocyte) เป็นต้น

ค่าพารามิเตอร์ของเม็ดเลือดขาว (Globule blanc ; WBC)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเม็ดเลือดขาว เป็นดังนี้

White blood cell count (WBC count) blanc (numération des globules blancs)

การตรวจปริมาณของเม็ดเลือดขาว (Numération des globules blancs หรือ Numération des globules blancs หรือ Globules blancs totaux หรือ Total WBC) ค่านี้เป็นค่าปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่นับได้จากตัวอย่างเลือดของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงในอยู่ที่ประมาณ 4,500 – 11,000 cellules/mm3 (ห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลบางแห่งอาจรายงานเป็นหน่วย cellules/microlitre ก็ได้ ซึ่งมีค่าเท่ากันกับหน่วย cellules/mm3) จำนวนของเม็ดเลือดขาวที่รายงานนี้เป็นจำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดรวมกัน (Tous les types de cellules)

ถ้าค่า Numération leucocytaire มีค่าต่ำ เราเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leucopénie) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไขกระดูกถูกทำลาย (Lésion de la moelle osseuse), ความผิดปกติของไขกระดูก (Trouble de la moelle osseuse), ภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Affection auto-immune), การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Septicémie), ภาวะขาดอาหาร (Insuffisance alimentaire), มะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ลามไปกดเบียดไขกระดูก (Lymphome ou autres cancers qui se propagent à la moelle osseuse), โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (Infection par le VIH) เป็นต้น

ถ้าค่า Numération leucocytaire มีค่าสูง เราเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวมาก (Leucocytose) มักเกิดจากภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย หรือมีความผิดปกติที่ไขกระดูก สาเหตุของภาวะเม็ดเลือดขาวมากที่เป็นไปได้ เช่น มีการติดเชื้อในร่างกาย (Infection) ที่พบบ่อยคือการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bactéries) หรือไวรัส (Virus) ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเพื่อมาจัดการกับเชื้อโรค, มีการอักเสบในร่างกาย (Inflammation), เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leucémie) หรือมีความผิดปกติของไขกระดูก (Trouble myéloprolifératif) ทำให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมามากผิดปกติ, ภาวะภูมิแพ้ (Allergie) และหอบหืด (Asthme), มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในร่างกาย (Mort tissulaire) เช่น แผลไฟไหม้ ถูกกระแทก กล้ามเนื้อหัวใจตาย, การออกกำลังกายอย่างหนัก (Exercice intense), ความเครียดรุนแรง (Stress sévère) เป็นต้น

Différentiel de globules blancs (différentiel de GB)

  • Neutrophile นิวโทรฟิล (Neutrophile ; N) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (Bactéries) และเชื้อรา (Champignons) นิวโทรฟิลเป็นเหมือนด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันที่คอยทำหน้าที่จับกินเชื้อโรค เมื่อนิวโทรฟิลตายก็จะกลายเป็นหนอง (Pus) ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ 40 – 80 % หรือประมาณ 2,000 – 7 000 cellules/mm3 ระดับของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลจะสูงขึ้นกว่าปกติได้จากหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายเกิดการอักเสบ (Inflammation), การติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน (Infection bactérienne aiguë), มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในร่างกาย (Mort tissulaire) เช่น แผลไฟไหม้ ถูกกระแทก กล้ามเนื้อหัวใจตาย, การออกกำลังกายอย่างหนัก (Exercice intense), ความเครียดรุนแรง (Stress sévère), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด เช่น Leucémie myéloïde chronique (LMC), กลุ่มอาการคุชชิง (Syndrome de Cushing) เป็นต้น
  • Lymphocyte ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte ; L) เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่หลักในการต่อต้านเชื้อไวรัส (Virus) เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะแบ่งออกเป็นชนิดย่อย 3 ชนิด ได้แก่ Cellule B คอยทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (Anticorps) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่จับกับเชื้อโรค, Cellule T คอยทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคโดยระบบการกระตุ้นเซลล์ (immunité à médiation cellulaire), และ cellule tueuse naturelle (หรือ cellule NK) คอยทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็งโดยวิธีการกระตุ้นเซลล์ (คล้ายกับ cellule T) ค่าระดับของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่รายงานในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็นค่ารวมของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดย่อยทั้ง 3 ชนิดรวมกัน ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์จะอยู่ที่ 20 – 40 % หรือประมาณ 1,000 – 3 000 cellules/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูงขึ้นกว่าปกติ เช่น การติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน (Infection virale aiguë) เช่น โรคอีสุกอีใส โรคเริม โรคหัด, การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด (Certaines infections bactériennes) เช่น โรคคอตีบ วัณโรค, การติดเชื้อปรสิตทอกโซพลาสมา (Toxoplasmose), การอักเสบเรื้อรัง (Inflammation chronique), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Leucémie lymphocytaire , มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphome), ความเครียด (Stress) เป็นต้น
  • Monocyte โมโนไซต์ (Monocyte ; M) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่จับกินเชื้อโรค และสามารถจดจำลักษณะของเชื้อโรคไว้ได้ด้วย มักพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในกระแสเลือด โมโนไซต์เมื่อเคลื่อนที่จากกระแสเลือดเข้าไปในเนื้อเยื่อ จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่เรียกว่ามาโครฟาจ (Macrophage) ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์จะอยู่ที่ 2 – 10 % หรือประมาณ 200 – 1,000 cellules/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สูงกว่าปกติ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (infection chronique) เช่น เชื้อรา วัณโรค, การติดเชื้อแบคทีเรียที่หัวใจ (endocardite bactérienne), โรคที่เกิดการอักเสบของหลอดเลือดในเนื้อเยื่อ (Maladie vasculaire du collagène) เช่น ลูปัส (Lupus) โรคหนังแข็ง (Sclérodermie) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Polyarthrite rhumatoïde) หลอดเลือดอักเสบ (Vascularite), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Monocytique หรือ Leucémie myélomonocytaire เป็นต้น
  • Éosinophile อีโอซิโนฟิล (Éosinophile ; E) เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่หลักในการต่อต้านพยาธิ การแพ้ และการอักเสบ โดยการปล่อยสารเคมีกลุ่ม ไซโตไคน์ (Cytokine) และเอนไซม์ (Enzyme) หลายชนิด เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล มักพบในกระแสเลือดในปริมาณไม่มากนัก ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ 1 – 6 % หรือประมาณ 20 – 500 cellules/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สูงกว่าปกติ เช่น โรคที่เกี่ยวกับภาวะภูมิแพ้ (allergie) เช่น หอบหืด (asthme) ภูมิแพ้น้ำมูลไหล (rhinite allergique) โรคผิวหนังภูมิแพ้ (dermatite atopique), ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด (réaction à un médicament) , การติดเชื้อพยาธิ (infection parasitaire), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leucémie) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphome) บางชนิด, ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Maladie inflammatoire de l’intestin) เป็นต้น
  • Basophile เบโซฟิล (Basophile ; B) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทเกี่ยวกับการอักเสบและภาวะภูมิแพ้เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล เบโซฟิลมักพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในกระแสเลือด ถ้าอยู่ในเนื้อเยื่อจะถูกเรียกว่าแมสเซลล์ (Mastocyte) ซึ่งมีลักษณะและการทำหน้าที่เหมือนกัน เม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิลสามารถปล่อยสารเคมีชื่อฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการก่อปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Anaphylaxie) และภาวะภูมิแพ้ (Allergie) ในร่างกาย ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ < 1 – 2 % หรือประมาณ 20 – 1 ,000 cellules/mm3 สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีระดับสูงกว่าปกติ เช่น การแพ้อาหาร (allergie alimentaire), ผื่นลมพิษ (urticaire), ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Maladie inflammatoire de l’intestin) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Arthrite rhumatoïde) , โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leucémie) บางชนิด เป็นต้น
  • นอกจากนี้ ในการตรวจจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Différentiel de globules blancs) หากมีการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูหยดเลือดย้อมสีบนแผ่นสไลด์ (frottis de sang périphérique) โดยนักเทคนิคการแพทย์ด้วยแล้ว ยังอาจสามารถพบเม็ดเลือดขาวแบบที่ผิดปกติชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย เช่น neutrophile de bande (cellule de bande) ซึ่งเป็นตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ปกติจะพบได้ในปริมาณเล็กน้อยในกระแสเลือด แต่หากพบจำนวนมากอาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน (Infection aiguë) ทำให้ไขกระดูกต้องรีบปล่อยเซลล์ตัวอ่อนออกมาทำงาน, ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว (cellule précurseur หรือ cellule blastique) ชนิดอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น Myélocyte, Métamyélocyte, Promyélocyte, และ Myéloblaste โดยทั่วไปจะไม่พบตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ในกระแสเลือด หากพบอาจบ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leucémie), Lymphocyte atypique เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่มีลักษณะใหญ่และย้อมติดสีฟ้าผิดปกติ พบได้ในโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีชื่อว่า โรคโมโนนิวคลีโอซิส (Mononucléose infectieuse), นอกจากเม็ดเลือดขาวแบบที่ผิดปกติแล้ว การส่องกล้องจุลทรรศน์ดูหยดเลือดย้อมสีบนแผ่นสไลด์ยังอาจทำให้พบเชื้อมาลาเรีย (Paludisme) ในคนที่ติดเชื้อมาลาเรียได้ด้วย

ค่าพารามิเตอร์ของเกล็ดเลือด (Plaquette ; PLT)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเกล็ดเลือด เป็นดังนี้

Compte des plaquettes

หากค่า Compte de plaquettes ต่ำ จะเรียกว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopénie) ทำให้เกิดปัญหาเลือดไหลแล้วหยุดได้ยาก เกิดจุดเลือดออก (Pétéchie) จ้ำเลือดขนาดเล็ก (Purpura) จ้ำเลือดขนาดใหญ่ (Ecchymose) ขึ้นตามผิวหนัง สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำมีได้หลากหลายมาก ที่พบได้ เช่น คนตั้งครรภ์ (Grossesse), ภาวะม้ามโต (Spleenomegaly), โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยสาเหตุจากภูมิคุ้มกัน (Purpura thrombocytopénique immunitaire หรือ Purpura thrombocytopénique idiopathique หรือ PTI), ผลจากการกินยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอล (Paracétamol) ซัลฟา (Sulfa) เฮพาริน (Héparine), ภาวะตับแข็ง (Cirrhose), การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Septicémie), การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคโมโนนิวคลีโอซิส (Mononucléose infectieuse) โรคหัด (Rougeole) โรคไวรัสตับอักเสบ (Hépatite virale), ได้รับยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี (Chimio ou radiothérapie), ภาวะความผิดปกติของไขกระดูก เช่น Myélodysplasie และ Anémie aplastique, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leucémie), โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphome) เป็นต้น

หากค่า Numération plaquettaire มีค่าสูง จะเรียกว่ามีภาวะเกล็ดเลือดสูง (Thrombocytose) ทำให้เกิดปัญหาเกิดเลือดแข็งตัวแบบผิดปกติในหลอดเลือดได้ สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดสูงพบได้หลายอย่าง เช่น ความผิดปกติของไขกระดูก (Trouble myéloprolifératif) เช่น ภาวะไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดขึ้นมากผิดปกติ (Thrombocytose essentielle), โรคมะเร็ง (Cancer) เช่น มะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (carence en fer), ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (anémie hémolytique), ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น ลูปัส (Lupus) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Polyarthrite rhumatoïde) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Maladie inflammatoire de l’intestin) เป็นต้น

Morphologie des plaquettes

เอกสารอ้างอิง

  1. Mayo Clinic. Numération sanguine complète (NFS) . 2016 . Disponible sur : http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complete-blood-count/home/ovc-20257165.
  2. Curry CV. Medscape – Numération différentielle du sang . 2015 . Disponible à partir de : http://emedicine.medscape.com/article/2085133-overview.
  3. Thompson EG, O’Donnell J. WebMD – Numération sanguine complète (NFS) . 2015 . Disponible à partir de : http://www.webmd.com/a-to-z-guides/complete-blood-count-cbc#1.
  4. Tests de laboratoire en ligne. Numération sanguine complète (NFS) . 2017 . Disponible à l’adresse suivante : https://labtestsonline.org/understanding/analytes/cbc.
  5. Organisation mondiale de la santé (OMS). La prévalence mondiale de l’anémie en 2011. Genève : OMS ; 2015.
  6. Curry CV. Medscape – Largeur de distribution des globules rouges (RDW) . 2015 . Disponible à partir de : http://emedicine.medscape.com/article/2098635-overview.
  7. Ceelie H, Dinkelaar RB, van Gelder W. Examen des films de sang périphérique à l’aide de la microscopie automatisée ; évaluation de Diffmaster Octavia et Cellavision DM96. J Clin Catholic 2007;60(1):72-9.
  8. Constantino BT. Déclaration et gradation des anomalies de la morphologie des globules rouges. Int J Lab Hematol 2015;37(1):1-7.
  9. Tidy C. Patient – Film de sang périphérique . 2016 . Disponible sur : https://patient.info/doctor/peripheral-blood-film.

Laisser un commentaire