การแปลผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Blodstatus; CBC)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์แต่ละรายการของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้น เป็นดังนี้

ค่าพารามิเตอร์ของเม็ดเลือดแดง (Röda blodkroppar; RBC)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเม็ดเลือดแดง เป็นดังนี้

Red blood cell count (RBC count)

ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในคนไทย ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 2011 พบว่าคนวัยทำงาน (อายุ 15 – 49 ปี) ในประเทศไทย จะพบภาวะโลหิตจางได้มากถึง 24 % ภาวะโลหิตจางอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดธาตุเหล็ก (Järnbrist), ขาดวิตามินบี 12 (B12) หรือขาดโฟเลต (Folat), โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemi), โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (G6PD-brist), การเสียเลือดจากสาเหตุต่างๆ (Blodförlust), ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytisk anemi), ความผิดปกติของไขกระดูก (Benmärgssjukdom), ภาวะการอักเสบเรื้อรัง (Kronisk inflammatorisk sjukdom), โรคไตเรื้อรัง (kronisk njursjukdom) เป็นต้น เมื่อตรวจพบภาวะโลหิตจางแล้ว ควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยาเพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการรักษาหากเป็นโรคที่จำเป็นต้องทำการรักษาต่อไป

สำหรับภาวะเม็ดเลือดแดงมากนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นกัน สาเหตุที่พบบ่อย เช่น เกิดจากภาวะขาดน้ำ (uttorkning), โรคปอดเรื้อรัง (kronisk lungsjukdom), การสูบบุหรี่ (rökning), การปรับตัวทางสรีระวิทยาของคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง (boende på hög höjd), โรคหัวใจแต่กำเนิด (Medfödd hjärtsjukdom), เนื้องอกที่ไตที่สร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินมากเกิน (Njurtumör som producerar överskott av erytropoietin), ความผิดปกติทางพันธุกรรม (Genetisk orsak) เช่น โรคโพลีไซทีเมีย เวอรา (Polycythemia vera) เป็นต้น

Hemoglobin (Hb)

Hematokrit (Hct)

Röda blodkroppar

  • Medelcellvolym (MCV) ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง (Medelcellvolym หรือ Medelkorpuskulär volym หรือ MCV) เป็นค่าที่บอกขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ 80 – 96 fL ถ้าค่านี้ต่ำ แสดงว่าเม็ดเลือดแดงของผู้เข้ารับการตรวจมีขนาดเฉลี่ยเล็กกว่าปกติ (Mikrocytisk) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Järnbrist) และโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemi) เป็นต้น ถ้าค่านี้สูง แสดงว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าปกติ (makrocytisk) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 (B12) หรือโฟเลต (Folat) ภาวะไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ (Myelodysplasi) โรคตับ (Leversjukdom) ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypotyreos) เป็นต้น
  • Medelcellhemoglobin (MCH) ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Medelcellhemoglobin หรือ Medelkroppshemoglobin หรือ MCH) เป็นค่าที่บอกปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ 27.5 – 33.2 pg ค่านี้เป็นค่าที่ใช้พิจารณาเสริมกับค่า MCV โดยมักจะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากหากขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงเล็ก ก็จะมีปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์ต่ำไปด้วย และหากขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงใหญ่ ก็จะมีปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์สูงไปด้วย
  • Medelcellshemoglobinkoncentration (MCHC) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Medelcellshemoglobinkoncentration หรือ Medelkorpuskulär hemoglobinkoncentration หรือ MCHC) เป็นค่าที่บอกความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงอยู่ที่ประมาณ 33.4 – 35.5 g/dL ถ้าค่านี้ต่ำ แสดงว่าเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย (Hypokromi) พบได้ในภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Järnbrist) และโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemi) เป็นต้น ถ้าค่านี้สูง แสดงว่าเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินมาก (Hyperkromi) พบได้ในภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Autoimmun hemolytisk anemi) ผู้ป่วยถูกที่ถูกไฟไหม้ (Brännskadepatient) หรือโรคเม็ดเลือดแดงป่องจากพันธุกรรม (Ärftlig sfärocytos)

RBC distributionsbredd (RDW)

RBC morfologi

ส่วนลักษณะที่รายงานว่ามีรูปร่างของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Poikilocytos) เกิดจากการที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงบางเซลล์มีรูปร่างผิดปกติ พบปะปนอยู่กับเซลล์เม็ดเลือดแดงทั่วไป ลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติที่พบได้ เช่น เซลล์รูปเป้า (Målcell) , เซลล์รูปกลม (Spherocyte), เซลล์รูปรี (Ovulocyte), เซลล์รูปหนาม (Acanthocyte หรือ Spur cell), เซลล์ขอบหยัก (Burr cell), เซลล์รูปเคียว (Sickle cell), เซลล์รูปหยดน้ำ (Teardrop cell), เซลล์รูปเศษเสี้ยว (Schistocyte) เป็นต้น

ค่าพารามิเตอร์ของเม็ดเลือดขาว (Vit blodkropp; WBC)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเม็ดเลือดขาว เป็นดังนี้

Vit blodkropp (WBC) blodkroppar (WBC count)

การตรวจปริมาณของเม็ดเลือดขาว (White blood cell count หรือ WBC count หรือ Totalt antal vita blodkroppar หรือ Total WBC) ค่านี้เป็นค่าปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่นับได้จากตัวอย่างเลือดของผู้เข้ารับการตรวจ มีช่วงอ้างอิงในอยู่ที่ประมาณ 4,500 – 11,000 celler/mm3 (ห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลบางแห่งอาจรายงานเป็นหน่วย celler/mikroliter ก็ได้ ซึ่งมีค่าเท่ากันกับหน่วย cell/mm3) จำนวนของเม็ดเลือดขาวที่รายงานนี้เป็นจำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดรวมกัน (Alla celltyper)

ถ้าค่า WBC-antal มีค่าต่ำ เราเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopeni) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไขกระดูกถูกทำลาย (Skada på benmärgen), ความผิดปกติของไขกระดูก (Benmärgssjukdom), ภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Autoimmun sjukdom), การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Sepsis), ภาวะขาดอาหาร (Kostbrist), มะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ลามไปกดเบียดไขกระดูก (Lymfom eller annan cancer som sprider sig till benmärgen), โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (HIV-infektion) เป็นต้น

ถ้าค่า WBC-antal มีค่าสูง เราเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวมาก (Leukocytos) มักเกิดจากภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย หรือมีความผิดปกติที่ไขกระดูก สาเหตุของภาวะเม็ดเลือดขาวมากที่เป็นไปได้ เช่น มีการติดเชื้อในร่างกาย (Infektion) ที่พบบ่อยคือการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bakterier) หรือไวรัส (Virus) ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเพื่อมาจัดการกับเชื้อโรค, มีการอักเสบในร่างกาย (Inflammation), เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemi) หรือมีความผิดปกติของไขกระดูก (Myeloproliferativ sjukdom) ทำให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมามากผิดปกติ, ภาวะภูมิแพ้ (Allergi) และหอบหืด (Astma), มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในร่างกาย (vävnadsdöd) เช่น แผลไฟไหม้ ถูกกระแทก กล้ามเนื้อหัวใจตาย, การออกกำลังกายอย่างหนัก (intensiv träning), ความเครียดรุนแรง (Svår stress) เป็นต้น

Differentiering av vita blodkroppar (WBC differential)

  • Neutrofil นิวโทรฟิล (Neutrofil; N) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (Bakterier) และเชื้อรา (Svampar) นิวโทรฟิลเป็นเหมือนด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันที่คอยทำหน้าที่จับกินเชื้อโรค เมื่อนิวโทรฟิลตายก็จะกลายเป็นหนอง (Pus) ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ 40 – 80 % หรือประมาณ 2,000 – 7 000 celler/mm3 ระดับของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลจะสูงขึ้นกว่าปกติได้จากหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายเกิดการอักเสบ (Inflammation), การติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน (akut bakterieinfektion), มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในร่างกาย (vävnadsdöd) เช่น แผลไฟไหม้ ถูกกระแทก กล้ามเนื้อหัวใจตาย, การออกกำลังกายอย่างหนัก (intensiv träning), ความเครียดรุนแรง (svår stress), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด เช่น Kronisk myeloisk leukemi (CML), กลุ่มอาการคุชชิง (Cushings syndrom) เป็นต้น
  • Lymfocyt ลิมโฟไซต์ (Lymfocyt; L) เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่หลักในการต่อต้านเชื้อไวรัส (Virus) เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะแบ่งออกเป็นชนิดย่อย 3 ชนิด ได้แก่ B-cell คอยทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (Antikropp) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่จับกับเชื้อโรค, T-celler คอยทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคโดยระบบการกระตุ้นเซลล์ (Cellmedierad immunitet), และ Natural killer cell (หรือ NK cell) คอยทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็งโดยวิธีการกระตุ้นเซลล์ (คล้ายกับ T-cell) ค่าระดับของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่รายงานในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็นค่ารวมของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดย่อยทั้ง 3 ชนิดรวมกัน ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์จะอยู่ที่ 20 – 40 % หรือประมาณ 1,000 – 3 000 celler/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูงขึ้นกว่าปกติ เช่น การติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน (Akut virusinfektion) เช่น โรคอีสุกอีใส โรคเริม โรคหัด, การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด (viss bakterieinfektion) เช่น โรคคอตีบ วัณโรค, การติดเชื้อปรสิตทอกโซพลาสมา (Toxoplasmos), การอักเสบเรื้อรัง (Kronisk inflammation), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Lymfatisk leukemi , มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymfom), ความเครียด (Stress) เป็นต้น
  • Monocyter โมโนไซต์ (Monocyter; M) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่จับกินเชื้อโรค และสามารถจดจำลักษณะของเชื้อโรคไว้ได้ด้วย มักพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในกระแสเลือด โมโนไซต์เมื่อเคลื่อนที่จากกระแสเลือดเข้าไปในเนื้อเยื่อ จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่เรียกว่ามาโครฟาจ (Makrofag) ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์จะอยู่ที่ 2 – 10 % หรือประมาณ 200 – 1,000 celler/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สูงกว่าปกติ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (kronisk infektion) เช่น เชื้อรา วัณโรค, การติดเชื้อแบคทีเรียที่หัวใจ (bakteriell endokardit), โรคที่เกิดการอักเสบของหลอดเลือดในเนื้อเยื่อ (Kollagenkärlsjukdom) เช่น ลูปัส (Lupus) โรคหนังแข็ง (Sklerodermi) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Reumatoid artrit) หลอดเลือดอักเสบ (Vaskulit), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Monocytisk หรือ Myelomonocytisk leukemi เป็นต้น
  • Eosinofil อีโอซิโนฟิล (Eosinofil; E) เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่หลักในการต่อต้านพยาธิ การแพ้ และการอักเสบ โดยการปล่อยสารเคมีกลุ่ม ไซโตไคน์ (Cytokin) และเอนไซม์ (enzym) หลายชนิด เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล มักพบในกระแสเลือดในปริมาณไม่มากนัก ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ 1 – 6 % หรือประมาณ 20 – 500 celler/mm3 สาเหตุที่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สูงกว่าปกติ เช่นน โรคที่เกี่ยวกับภาวะภูมิแพ้ (Allergi) เช่น หอบหืด (Astma) ภูมิแพ้น้ำมูลไหล (Allergisk rinit) โรคผิวหนังภูมิแพ้ (Atopisk dermatit), ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด (Läkemedelsreaktion) , การติดเชื้อพยาธิ (Parasitinfektion), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemi) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymfom) บางชนิด, ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatorisk tarmsjukdom) เป็นต้น
  • Basofil เบโซฟิล (Basofil; B) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทเกี่ยวกับการอักเสบและภาวะภูมิแพ้เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล เบโซฟิลมักพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในกระแสเลือด ถ้าอยู่ในเนื้อเยื่อจะถูกเรียกว่าแมสเซลล์ (Mastcell) ซึ่งมีลักษณะและการทำหน้าที่เหมือนกัน เม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิลสามารถปล่อยสารเคมีชื่อฮีสตามีน (Histamin) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการก่อปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Anafylaxi) และภาวะภูมิแพ้ (Allergi) ในร่างกาย ช่วงอ้างอิงของเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะอยู่ที่ < 1 – 2 % หรือประมาณ 20 – 1 ,000 celler/mm3 สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีระดับสูงกว่าปกติ เช่น การแพ้อาหาร (Livsmedelsallergi), ผื่นลมพิษ (Urtikaria), ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatorisk tarmsjukdom) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (reumatoid artrit) , โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemi) บางชนิด เป็นต้น
  • นอกจากนี้ ในการตรวจจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว (WBC differential ) หากมีการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูหยดเลือดย้อมสีบนแผ่นสไลด์ (perifer blodutstrykning) โดยนักเทคนิคการแพทย์ด้วยแล้ว ยังอาจสามารถพบเม็ดเลือดขาวแบบที่ผิดปกติชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย เช่น Bandneutrofil (Bandcell) ซึ่งเป็นตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ปกติจะพบได้ในปริมาณเล็กน้อยในกระแสเลือด แต่หากพบจำนวนมากอาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน (Akut infektion) ทำให้ไขกระดูกต้องรีบปล่อยเซลล์ตัวอ่อนออกมาทำงาน, ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว (Förstadiecell หรือ Blast cell) ชนิดอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น Myelocyte, Metamyelocyte, Promyelocyte, และ Myeloblast โดยทั่วไปจะไม่พบตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ในกระแสเลือด หากพบอาจบ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemi), Atypisk lymfocyt เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่มีลักษณะใหญ่และย้อมติดสีฟ้าผิดปกติ พบได้ในโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีชื่อว่า โรคโมโนนิวคลีโอซิส (infektiös mononukleos), นอกจากเม็ดเลือดขาวแบบที่ผิดปกติแล้ว การส่องกล้องจุลทรรศน์ดูหยดเลือดย้อมสีบนแผ่นสไลด์ยังอาจทำให้พบเชื้อมาลาเรีย (Malaria) ในคนที่ติดเชื้อมาลาเรียได้ด้วย

ค่าพารามิเตอร์ของเกล็ดเลือด (Trombocyter; PLT)

การแปลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเกล็ดเลือด เป็นดังนี้

Platelet count

หากค่า Platelet ต่ำ จะเรียกว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Trombocytopeni) ทำให้เกิดปัญหาเลือดไหลแล้วหยุดได้ยาก เกิดจุดเลือดออก (Petechia) จ้ำเลือดขนาดเล็ก (Purpura) จ้ำเลือดขนาดใหญ่ (Ekchymos) ขึ้นตามผิวหนัง สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำมีได้หลากหลายมาก ที่พบได้ เช่น คนตั้งครรภ์ (Graviditet), ภาวะม้ามโต (mjältomegali), โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยสาเหตุจากภูมิคุ้มกัน (Immun trombocytopenisk purpura หรือ Idiopatisk trombocytopenisk purpura หรือ ITP), ผลจากการกินยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ซัลฟา (Sulfa) เฮพาริน (Heparin), ภาวะตับแข็ง (Cirros), การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Sepsis), การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคโมโนนิวคลีโอซิส (Infektiös mononukleos) โรคหัด (Mässling) โรคไวรัสตับอักเสบ (Virushepatit), ได้รับยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี (Kemo- eller strålbehandling), ภาวะความผิดปกติของไขกระดูก เช่น Myelodysplasi และ Aplastisk anemi, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemi), โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymfom) เป็นต้น

หากค่า Trombocytantal มีค่าสูง จะเรียกว่ามีภาวะเกล็ดเลือดสูง (Trombocytos) ทำให้เกิดปัญหาเกิดเลือดแข็งตัวแบบผิดปกติในหลอดเลือดได้ สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดสูงพบได้หลายอย่าง เช่น ความผิดปกติของไขกระดูก (Myeloproliferativ sjukdom) เช่น ภาวะไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดขึ้นมากผิดปกติ (Essentiell trombocytos), โรคมะเร็ง (Cancer) เช่น มะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Järnbrist), ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytisk anemi), ภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น ลูปัส (Lupus) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Reumatoid artrit) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatorisk tarmsjukdom) เป็นต้น

Platelet morphology

เอกสารอ้างอิง

  1. Mayo Clinic. Fullständig blodstatus (CBC) . 2016 . Tillgänglig från: http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complete-blood-count/home/ovc-20257165.
  2. Curry CV. Medscape – Differentiell blodstatus . 2015 . Tillgänglig från: http://emedicine.medscape.com/article/2085133-overview.
  3. Thompson EG, O’Donnell J. WebMD – Komplett blodstatus (CBC) . 2015 . Tillgänglig från: http://www.webmd.com/a-to-z-guides/complete-blood-count-cbc#1.
  4. Labbtester online. Fullständig blodstatus (CBC) . 2017 . Tillgänglig från: https://labtestsonline.org/understanding/analytes/cbc.
  5. Världshälsoorganisationen (WHO). Den globala förekomsten av anemi 2011. Genève: WHO; 2015.
  6. Curry CV. Medscape – Red cell distribution width (RDW) . 2015 . Tillgänglig från: http://emedicine.medscape.com/article/2098635-overview.
  7. Ceelie H, Dinkelaar RB, van Gelder W. Examination of peripheral blood films using automated microscopy; evaluation of Diffmaster Octavia and Cellavision DM96. J Clin Pathol 2007;60(1):72-9.
  8. Constantino BT. Rapportering och klassificering av onormal morfologi hos röda blodkroppar. Int J Lab Hematol 2015;37(1):1-7.
  9. Tidy C. Patient – perifer blodfilm . 2016 . Tillgänglig från: https://patient.info/doctor/peripheral-blood-film.

Lämna en kommentar